Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ผลของวิธีการให้อาหารแบบขั้นบันไดในระยะวงรอบการเป็นสัดต่อการพัฒนาฟอลลิเคิลและคุณภาพของโอโอไซต์ของแม่แพะพื้นเมืองไทย
Effect of stair-step feeding regimen during estrous cycle on follicular development and oocyte quality of Thai-native does
Autores:  Jaruk Nutthakornkul
Chainarong Navanukraw
Parwadee Pakdee
Chalong Wachirapakorn
Krittiya Lertchunhakiat
Data:  2013-02-13
Ano:  2011
Palavras-chave:  Thai-native goats
Stair-step feeding regimen
Follicle
Oocyte
Estrous cycle
Feed intake
แพะ
พันธุ์พื้นเมืองไทย
ฟอลลิเคิล
โอโอไซต์
การให้อาหารแบบขั้นบันได
การกินอาหาร
ความต้องการโภชนะ
การเจริญเติบโต
Resumo:  Objective of this study was to determine the effect of stair-step feeding regimen during estrous cycle on follicular development and oocytes quality. Sixteen Thai-native non pregnant goats were used with the average age and body weight of 8 months and 17±0.6 kg, respectively. The does exhibited at least 2 normal estrous cycle and were housed in 1 m2 steel cages. Heat detection was daily recorded using a vasectomized buck. The does were randomly assigned into two groups: Control and Stair-step feeding group. In the control group, does were fed 100% of nutrients requirement for growth in puberty periods. Does consumed Ruzi grass hay, DM = 500 g/head/d and concentrate supplemented at 1% of body weight. Total feed intake was 670 g/head/d, (ME = 1.48 Mcal/kg/d, TP = 55 g/head/d during day 1-42). In the Stair-step feeding group, treatment was divided in two phases: feed restriction and realimentation. In the first phase, does were fed roughage and concentrate 70% of the average consumption of control group during day 1-21 (1st estrous cycle). In the second phase, goats were offered 130% of the average consumption of control group during at day 22-42 (2nd estrous cycle). Does were scheduled to determine follicular growth and number, as well as oocyte quality by surgical laparotomy. The results showed that average total feed intake, average daily gain and feed conversion ratio were not statistically different between stair-step and control group (P>0.05). Serum glucose concentrations at 4 h was during realiment phase were greater than control group (P<0.05). Numbers of total follicles in stair-step group were greater than control group (P<0.05). Moreover, Oocyte quality of the treatment group was better (P<0.01) than that of control group in follicular size of 1-3, 4-6 and ≥7 mm. Proliferation cell nuclear antigen (PCNA) was used to establish cell labeling techniques for investigating cell proliferation. In this study was observe differences among regions of the granulosa and theca cell layer. Difference of follicular size (1-3, 4-6, ≥7 mm) between treatment and control group were compared. The results found that the labeling index in granulosa and theca layer of all follicular size 1-3, 4-6 and ≥7 mm were statistically different between stair-step feeding and control group (P<0.05). These results indicate that stair-step feeding regimen affects fertility improvement in Thai-native does.

เพื่อศึกษาผลของวิธีการให้อาหารแบบขั้นบันไดในระยะวงรอบการเป็นสัดต่อการพัฒนาการของฟอลลิเคิล และคุณภาพของโอโอไซต์ ใช้แพะพื้นเมืองเพศเมียนํ้าหนักเฉลี่ย 17±0.6 กก. อายุ 8 เดือน จำนวน 16 ตัว เป็นแพะที่มีวงรอบการเป็นสัดมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 วงรอบ และใช้แพะเพศผู้ที่ผ่าตัดท่อนำนํ้าเชื้อเพื่อตรวจสอบการเป็นสัดของแพะเพศเมียทุกวัน แพะเพศเมียแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม (Control) ให้อาหารตามความต้องการโภชนะของแพะในระยะวัยเจริญพันธุ์ หรือคิดเป็น 100% โดยให้หญ้ารูซี่แห้ง 500 กรัม/ตัว/วัน ร่วมกับอาหารข้นที่มีโปรตีน 16% เสริมในระดับ 1% ของนํ้าหนักตัว รวมอาหารที่ให้กิน 670 กรัม/ตัว/วัน มีพลังงานใช้ประโยชน์ (metabolizable energy, ME) เท่ากับ 1.48เมกะแคลอรีต่อกิโลกรัม และโปรตีนที่ได้รับ 55 กรัม/ตัว/วัน ตลอดระยะเวลา 42 วัน กลุ่มที่ 2 ให้อาหารแบบขั้นบันได (Stair-step feeding) ประกอบด้วย 2 ระยะคือ ระยะแรก(วันที่ 1-21) ให้อาหารแพะแบบจำกัด โดยได้รับอาหารเพียง 70% ของกลุ่มควบคุม ระยะที่สอง (วันที่ 22-42) ให้อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 130% ของปริมาณที่ให้จากกลุ่มควบคุม จากนั้นแพะทุกกลุ่มถูกผ่าตัดเปิดช่องท้องครั้งแรกในวันที่ 41 เพื่อศึกษาพัฒนาการของฟอลลิเคิล และครั้งที่สอง (หลังจากแพะแสดงอาการเป็นสัด 3 วัน) เพื่อเจาะดูดฟอลลิเคิลขนาด 2 มม. และเก็บโอโอไซต์ไปประเมินคุณภาพ จากผลการทดลองพบว่า ปริมาณการกินได้ อัตราการเจริญเติบโต และอัตราการเปลี่ยนอาหารของแพะทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) ส่วนค่าทางชีวเคมีพบว่า ค่าเฉลี่ยกลูโคส ที่ 4 ชั่วโมงหลังการกินอาหารของกลุ่มที่ให้อาหารแบบขั้นบันไดในวงรอบการเป็นสัดครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นระยะที่มีการเพิ่มการให้อาหารที่ 4 ชั่วโมงมีระดับที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ระดับของกรดไขมันอิสระในซีรั่ม (NEFA) ของแพะที่ให้อาหารแบบขั้นบันได ในระยะวงรอบการเป็นสัดครั้งที่ 1 เมื่อมีการจำกัด อาหารมีค่าไม่แตกต่างจากแพะกลุ่มควบคุม แต่ในวงรอบการเป็นสัดครั้งที่ 2 เมื่อให้อาหารเพิ่มขึ้นเป็น 130% พบว่ากรดไขมันอิสระในซีรั่มของแพะกลุ่มที่ให้อาหารแบบขั้นบันได มีระดับลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P<0.05) ระดับของฮอร์โมนอินซูลินในแพะกลุ่มที่ให้อาหารแบบขั้นบันได มีระดับที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ในส่วนของฟอลลิเคิลทั้งหมดที่นับได้ในกลุ่ม ที่ให้อาหารแบบขั้นบันได มีจำนวนมากกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) จากการเจาะดูดฟอลลิเคิล และเก็บโอโอไซต์มาประเมินคุณภาพ พบว่าจำนวนของโอโอไซต์ที่มีคุณภาพดีที่ได้จากฟอลลิเคิลขนาดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3, 4-6 และ ≥7 มม. ในกลุ่มที่ให้อาหารแบบขั้นบันได มีจำนวนมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) นอกจากนั้นแล้วค่าดัชนีในการแบ่งเซลล์ (% PCNA labeling index) ในเนื้อเยื่อชั้นกรานูโลซาและชั้นทีกาของรังไข่ในแพะที่ให้อาหารแบบขั้นบันไดสูงกว่าในแพะกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นการให้อาหารแบบขั้นบันไดในระยะวงรอบการเป็นสัดส่งผลดีต่อการพัฒนาการฟอลลิเคิลของแพะพื้นเมืองไทย
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5275

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, Jan-Mar 2011, V. 39, No. 1, p. 33-42

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, ม.ค.-มี.ค. 2554, ปีที่ 39, ฉบับที่ 1, หน้า 33-42
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional